แนะนำ ประวัติ ผลงาน และทัศนะ

 

 

 

ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์

ศาสตราจารย์ ระดัีบ ๑๑

(ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑ ทางการศึกษา คนที่ ๒ ของประเทศไทย)

หนึ่งในผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และเป็นผู้พัฒนาระบบการสอนทางไกล "แผนมสธ." (อ่านรายละเอียด)

อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

 

อนุกรรมาธิการอุดมศึกษา วุฒิสภา และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา และวัฒรธรรม วุฒิสภา

อดีต:

รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรองอธํิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรม เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สถาบันพระปกเกล้า

ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

UNESCO/UNDP Expert (Indonesia, Sri Lanka, Maldives, Laos, Malaysia, Japan, India, Pakistan)

 

 การศึกษา

 

๕๐ ผลงานสร้างสรรค์สำหรับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 ก่อนจะมี มสธ.

1. 2496-97   มีความสนใจวิธีการเรียนทางไปรษณีย์ โดยสมัครเป็นนักศึกษาพระคริสต์ธรรม ได้รับประกาศนียบัตร สมัยที่เรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๒ (ป.6)

2. 1971-72 ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง “A Proposed Plan for Establishing an Educational Television Station for Open Admission Universities in Thailand” (1971-2)

3. ขณะที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และเขียนบทความเกี่ยวกับการศึกษาระบบเปิดลงสยามรัฐ อย่างต่อเนื่อง (2515)

4. ได้รับเชิญเป็น Visiting Lecturer Institute for Educational Technology, The Open University ประเทศอังกฤษ (1976)

5. ออกรายการ BBC เรื่อง “การศึกษาทางไกลในประเทศไทย” สัมภาษณ์โดยคุณสุรีย์ พันธ์เจริญ Bush House, London ออกอากาศไปทั่วโลก (1976)

6. เขียนบทความ เรื่องการศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิดอย่างละเอียดลงหนังสือพิมพ์บ้านเมือง (2519-20)

7. ได้รับเชิญออกรายโทรทัศน์ “มหาวิทยาลัยชาวบ้าน” ของ ม.ร.ว. ถนัดศรีฯทางช่อง ๙ (2519)

8. เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง มหาวิทยาลัยเปิด ที่หอประชุม AUA (2519)

9. พัฒนาระบบการสอน “แผนจุฬา” โดยรัชดาภิเษกสมโภช (2516-20) ระบบการสอน “แผนจุฬา” เป็นพื้นฐานในการพัฒนา ระบบการสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช “แผนมสธ” ในพ.ศ. 2523

10. พัฒนาบทเรียนด้วยตนเองในโครงการฝึกอบรมครูเพื่อการปบี่ยนบทบาทใหม่ (Non-Traditional Role of Teachers-NTR) ของ INNOTECH Center (2522-23)

11. เสนอโครงการใช้สถานีโทรทัศน์จุฬา ออกอากาศรายการสอนของคณะต่างๆ โดยเข้าพบ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เมื่อดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ (2522)

12. ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการจัดตั้งศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง จุฬา (ศาสตราจารย์ ไพทูรย์ พงศบุตรเป็นประธาน)

13. ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการวางแผนจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิด ซึ่งศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นประธาน (2520)  

ระหว่างเป็นกรรมการวางแผนจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิด (๔ รายการ)  

14. รับภาระประสานงานทั่วไปร่วมกับ ดร.นิคม ทาแดง เช่นในการต้อนรับชาวต่างประเทศ หรือจัดฝึกอบรมการผลิตรายการโทรทัศน์จากผู้เชี่ยวชาญ  BBC ในกิจกรรมที่เกี่ยวกับโครงการมหาวิทยาลัยเปิด (2520-22)

15. เขียนโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิด โดยรับงานเขียนบทที่ว่าด้วยโครงสร้าง บุคลากร สื่อการศึกษา และระบบการสอนทางไกล เพื่อเสนอคณะกรรมการฯ (2520-21) มีการประชุมแบบลงขันรับประทานอาหารเย็นที่ร้านอาหารหัวหิน ถนนราชดำเนินนอก และที่อาคารทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ถนนราชดำเนินนอก

16. ทำวิจัยศึกษาความต้องการศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิดร่วมกับ ดร.อุทุมพร ดร.ทองอินทร์ วงศ์โสธร (2520)

17. จัดทำ สไลด์เสนอแนวคิดมหาวิทยาลัยเปิดร่วมกับ ดร.วิรุฬห์ ตั้งเจริญ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดี มศว.) (2522-23)

 มื่อมีมหาวิทยาลัยสุโขทัธรรมาธิราชแล้ว

18. ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  ในฐานะผู้อำนวยการ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา โดย ดร.วิจิตร ศรีสอ้านเชิญพบที่โรงแรมเพรสิเดนท์ ๓ คน กับ ดร.อุทุมพร ฯ เพื่อพิจารณารายชื่อผู้ที่จะรับเชิญมาร่วมงานมหาวิทยาลัย

19. ร่วมในการจัดระบบองค์กร และ เขียนข้อบังคับต่างๆ โดยประชุมที่ภาควิชาอุดมศึกษา ครุศาสตร์ (2522)

20. ออกแบบระบบการสอนทางไกล “แผนมสธ.(๒๕๒๓)” เสนอสภาวิชาการ ณ อาคาร บดท. หลานหลวงฯ             

21. ออกแบบตำราทางไกล คือ เอกสารการสอนและแบบฝึกปฏิบัติ โดยทดลองกับคณาจารย์ชุดแรก ๓๖ คน ณ ที่ทำการสันนิบาตสหกรณ์ และมูลนิธิพัฒนาชนบท ที่ชัยนาทของ น.พ. มะลิ ไทยเหนือ

22. จัดฝึกอบรมผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในการเขียนเอกสารการสอน ที่บางแสน พัทยา และสามพราน

23. ออกแบบระบบการผลิตสื่อวิทยุกระจายเสียง

24. ออกแบบระบบการผลิตสื่อวิทยุโทรทัศน์

25. ออกแบบระบบการทำงานของนักเทคโนโลยีการศึกษา ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา

26. เสนอโครงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (๒๕๒๓) ในฐานะเลขานุการ และเป็นประธานคณะกรรมการจัดตั้ง ๒ ชุด แต่...เกือบสำเร็จ!

27. ออกแบบรูปแบบรายการโทรทัศน์การศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นผู้นำการใช้กล้องโทรทัศน์ถ่ายทำละครนอกสถานที่

28. ออกแบบและดูแลระบบการพิมพ์และ ออกแบบระบบการพิมพ์ ของ มสธ.

29. เขียนโครงการขอความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีการศึกษา และได้รับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น คือ EBPC-Educational Broadcasting Production Center ศ.ดร.วิจิตรฯ เล่าว่า ฝ่ายญี่ปุ่นถามว่า ใครเขียนโครงการให้ เพราะมีความสมบูรณ์ และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ฝ่ายญี่ปุ่นมีความมั่นใจว่า เมื่อจัดตั้งศูนย์ผลิตรายการฯ ให้แล้ว มหาวิทยาลัยมีคนรู้เรื่องและสามารถใช้ประโยชน์ได้

30. พัฒนาระบบสอนเสริม ในรูปชุดสอนเสริม เสนอสภาวิชาการ เมื่อ ๒๕๒๓ ในการประชุมที่สภาการศึกษา แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบเนื่องจาก (กรรมการสภาวิชาการบางคน) เกรงจะก้าวล้ำเสริภาพทางวิชาการของอาจารย์สอนเสริม และเน้นว่า น่าจะให้เกียรติผู้สอน หลังจาก ๑ ปีแห่งการสอยเสริมที่ล้มเหลว ซึ่งมีปัญหาในการสอนเสริมหลายประการ สภาวิชาการจึงให้ความเห็นชอบผลิตเป็นชุดสอนเสริม  ที่เน้น Non-Projected Materialsในรูปชุดโสตทัศน์(Audio-Vision) หรือ ชุดโอษฐทัศน์ (Oral vision)

31. พัฒนาระบบการอบรมเข้มเสริมประสบการณ์วิชาชีพ โดยเริ่มที่สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จัดที่สวางคนิวาศ ครั้ง แล้วจึงขยายไปต่างจังหวัด

32. ดำเนินการขอให้มีตำแหน่งอาจารย์ในสำนักเทคโนโลยีการศึกษา ทุกประเทศ นักเทคโนโลยีการศึกษา ล้วนเป็นตำแหน่งอาจารย์ เช่น Institute of Educational Technology (IET) Open University (ENGLAND),  National Institute for Multi-Media Education (NIME) University of the Air (JAPAN) และทำหน้าที่วัดและประเมินด้วย จึงทำให้นักประเมินได้รับตำแหน่งอาจารย์ประจำสำนักทะเบียนและวัดผลด้วย      

 33. ร่วมพัฒนาระบบบัณฑิตศึกษาของศึกษาศาสตร์ โดยเฉพาะการปรับรูปแบบเอกสารการสอนเป็น

                (1) ประมวลสาระชุดวิชา (Course Comprehensive Text-CCT)

                (2) แนวการศึกษา (Study Guide)

                (3) แผนกิจกรรมการศึกษา (Course Bulletin)

                (4) ชุดความรู้ (Source Book) ในรูปเอกสารประกอบและสารานุกรม

34. พัฒนาระบบการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์เป็นกลุ่ม (Thesis Group Advisory System-TGAS) เพื่อไม่ให้อาจารย์ที่ปรึกษาเพียงคนเดียวมีอำนาจในการชี้เป็นชี้ตายงานของนักศึกษา แต่ให้คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาวิทยานิพนธ์ กำหนดกรอบกลาง เพื่อกำกับการให้คำปรึกษาของ MA (Major Advisor) และ CO (Co advisor)

35. ร่วมจัดระบบการสัมมนาเสริมระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อกำหนดแนวทางให้นักศึกษาร่วมอภิปรายสัมมนา ทำรายงาน เสนอรายงาน มากกว่า มาฟังอาจารย์สอนเสริม

36. ออกแบบและจัดพิมพ์คู่มือวิทยานิพนธ์ บัณฑิตศึกษา (๒๕๔๕)

37. จัดพิมพ์ “คู่มือเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ” (Abstract Writing Manual)

38. ร่วมพัฒนาระบบมหาวิทยาลัยเสมือนจริง (Virtual University Project) สำเร็จตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๐ เพื่อนำ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไปสู่ยุค E-learning โดยพัฒนาระบบการสอนทางไกล มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช “แผนมสธ ๒๕๔๐”

                เป็นผู้ร่างโครงการ มหาวิทยาลัยเสมือนจริงลุ่มแม่นำโขง (Greater Mekhong Sub-Regional Virtual University-GMS-VU) ของ UNESCO/SEAMEO

39. เป็นประธานพัฒนาระบบการสอนทางไกล “แผนมสธ. ๒๕๔๓” (STOU Plan 2000)

 40. พัฒนาระบบการเขียนตำราทางไกลในรูป ประมวลสาระ และคู่มือการศึกษา เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงชุด แต่คณาจารย์บางส่วนไม่เห็นด้วย ระยะแรก มีชุดวิชาไทยศึกษาชุดเดียวทำสำเร็จ

 41. พัฒนาระบบการประเมินกิจกรรม (ตามข้อบังคับ ๒๕๒๓ ที่ให้มีคะแนนเก็บได้ ๒๐ คะแนน) ภาคการศึกษาแรก (๑/๒๕๔๔) ไม่สำเร็จ เพราะไม่ได้รับความร่วมมือจากสาขาเจ้าของวิชา แต่สำเร็จในภาค ๒/๔๔ มีชุดวิชาเข้าร่วมโครงการ ชุด ปัจจุบันมี ประมาณ ๔๐ ชุด

42. พัฒนาระบบการสอนเสริมแบบบูรณาการ (Integrated Tutorial Approach-ITA) ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่สอบชุดวิชาใดไม่ผ่าน ๑-๒ ภาคการศึกษาได้มีทางเลือกที่จะเข้าสอนเสริมแบบเข้ม โดยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

43. จัดระบบให้มีการเทียบโอนประสบการณ์ตามมาตรา ๕ แห่ง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อให้ผู้ประสบความสำเร็จในการงานอาชีพ และผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต มีสิทธิเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี

44. ขยายการศึกษาไปสู่ชนบทโดยทำความตกลงกับกรมการศึกษานอกโรงเรียน

45. ขยายการศึกษาไปต่างประเทศ –Hong Kong, Taiwan, Malaysia, Brunei, USA สำเร็จบางส่วน

46. พัฒนาระบบการบริหารชุดวิชา (ค.บ.ช)

47. พัฒนาระบบการสอบแบบอิงประสบการณ์  (Experience-based Approach-EBA)

47. พัฒนาระบบการสอบแบบอิงประสบการณ์  (Experience-based Approach-EBA) สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา

48. พัฒนาระบบการสอนผ่านจอภาพแบบปฏิสัมพันธ์ (On-Screen Interactive Instruction-OSI)

49. พัฒนาระบบโรงเรียนเสมือนจริง (Virtual School) สำหรับสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

50.  ร่วมพัฒนาระบบดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ และเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรฯ       

ภาพในความทรงจำ: ได้รับอะไรจากมสธ.  

 -ได้รับโอกาสในการนำวิชีพเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ –ขอขอบคุณ ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ที่ให้โอกาส

-ได้มีส่วนเป็นสถาปนิก  พัฒนาพิมพ์เขียนด้านการศึกษาทางไกลของ มสธ. และมีโอกาสเป็นวิศวกรกำกับควบคุมงานด้วย

-เป็นบ้านที่ได้อยู่อาศัย แม้ช่วง ๑๔ ปีหลัง (๒๕๓๐ เป็นต้นมา) จะไม่ได้ทำประโยชน์เท่าที่ควร บางระยะจึงต้องไปทำงานที่อื่นทำ เพิ่งมี ปีก่อนเกษียณที่มีโอกาสได้เข้ามาช่วยงาน

-เป็นเวทีพัฒนาทักษะความชำนาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา

ทางลบ

-ความลำบากใจในการทำงาน เนื่องจากไม่มีส่วนในการกำหนดนโนบายในช่วงต้นๆ และถูกกำกับโดยผู้ที่ไม่รู้งานจริง จนทำให้องค์ประกอบบางส่วนของระบบถูกตัดรอน ระบบการสอนของมสธ. โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีการศึกษาพัฒนาได้จริงๆ ในช่วง ปีแรกเท่านั้น

-ความไม่จริงใจของเพื่อนร่วมงาน –แม้ในสายตาเพื่อนร่วมงานบางคนบางกลุ่มที่ร่วมกันมาตั้งแต่เริ่มแรก

-การไม่พัฒนาทัศนคติการระบบเปิดของคณาจารย์และบุคลากร--ยังมีมุมมองที่ไม่สะท้อนภาพอนาคตของการศึกษา ยังเห็นว่าการสอนแบบมีห้องเรียนดีกว่า               

 

คำฝาก

-มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กำลังถูกแข่งขัน ต้องปรับ Paradigm ที่จะนำไปสู่การศึกษาไร้พรมแดน

-ต้องรักษา “ไตรภาคี” แห่งการทำงาน หากคณาจารย์มสธ. คิดว่า ตนมีความสำคัญกว่า บุคลากรสายอื่นแล้ว มสธ อยู่ไม่ได้

-อธิการบดีต้องมี Mentalities ด้านการศึกษาทางไกลและระบบเปิด ต้องทำจริง ไม่ใช่เป็นสมาชิก NATO    

Professor Dr. Chaiyong Brahmawong

Mobile: (083)905-8301

E-mail: chaiyong@irmico.com

Website: www.chaiyongvision.com

www.buddhabirthplace.com

 

การวิจัย

  ธรรมะกับชีวิต

ฉบับย่อ   ฉบับละเอียด

  

เสนอทัศนะทางเศรษฐกิจและการเมือง การศึกษา ธรรมะกับชีวิต ศิลปะวัฒนธรรม ประวัติและผลงาน การวิจัย พระพุทธอุบัติภูมิ งานสร้างสรรค์ทำให้มสธ. ฯลฯ ทุกสัปด

 
FastCounter by bCentral
Created:  February, 2006

E-mail: chaiyong@irmico.com

[Present Positions][Personal Information][Educational Background][Professional Experience][International Experience][Research] [Achievement and Contributions][Publications][Specializations and Interests]